เจ้าของ | ข้อความ |
---|---|
ประธานกรรมการ |
หัวข้อกระทู้ : อธิบายขยายความว่าเมื่อมีหมายศาลมาถึงสมาชิกสหกรณ์
โพสต์แล้ว : 24 เม.ย. 2561 14:51:38
|
อธิบายขยายความว่าเมื่อมีหมายศาลมาถึงสมาชิกสหกรณ์เรา สมาชิกควรจะต้องไปศาลเมื่อมีการฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ใช้หนี้ โดยหลักการแล้วศาลจะให้เจ้าหนี้กับลูกหนี้คุยกันหาข้อสรุป แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลหลักการคือเป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อนมาก ประเด็นคือเจ้าหนี้ (เป็นสถาบันการเงิน) เขาก็ยืนยอดหนี้ที่ต้องชำระ แต่ลูกหนี้ควรจะไปศาลพร้อมกับรายละเอียดรายได้ รายจ่าย และหนี้สินอื่นๆ ที่ต้องชำระให้กับเจ้าหนี้คนอื่นด้วย (เช่นหนี้สหกรณ์) และรายจ่ายที่เป็นภาระต่างๆ เช่น ภาระในการดูแลครอบครัว พ่อแม่อย่างไรบ้าง ถ้าต้องชำระหนี้ตามที่ทนายฝ่ายโจทก์ยืนยัน ลูกหนี้จะลำบากอย่างไร ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ ผู้พิพากษาจะเป็นคนไกล่เกลี่ย ถึงตอนนี้ลูกหนี้จะแถลงด้วยวาจาถึงภาระต่างๆ ที่เตรียมมาโดยปกติทนายฝ่ายโจทก์จะยืนตามยอดที่ฟ้องและยอดที่เตรียมมาให้ผ่อนชำระ แต่เมื่อศาลพิจาณาข้อมูลของเราแล้ว ถ้าท่านเห็นว่าลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่โจทก์ขอ ท่านก็จะไกล่เกลี่ยให้ว่าควรเป็นเท่าไร ซึ่งส่วนใหญ่ทนายฝ่ายโจทก์จะยอมตามที่ศาลไกล่เกลี่ย ถ้าตกลงกันไม่ได้ โจทก์ต้องการให้ศาลตัดสิน ศาลก็จะพิจารณาข้อมูลของเราประกอบการตัดสิน และจะอยู่บนหลักการที่ว่าลูกหนี้ต้องมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งจะมีโอกาสที่จะผ่อนชำระตามความสามารถที่จะผ่อนส่งได้ ต่างกับการไม่ไปศาลของลูกหนี้ จะเห็นว่าถ้าเราไม่ไปศาลเลย ศาลไม่มีทางรับรู้ปัญหาของเราเลย ก็จะต้องตัดสินตามที่โจทก์ฟ้อง และให้ชำระหนี้ภายใน 15 วัน ซึ่งคดีมันจะเดินไปถึงการบังคับคดีทันที ถึงตอนนั้นบังคับคดีจะบังคับอายัดเงินเดือนของเราตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ซึ่งเราจะต้องลำบากมากเพราะต้องมีภาระรายจ่ายอื่นๆ อีก
|
|
หน้าเว็บบอร์ด